การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การอนุรักษ์ทรัพยากรประมง

บทความ > ปลา
การประมงของประเทศไทยและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงของประเทศของเรา
ประเทศไทยเป็นประเทศซึ่งมีเศรษฐกิจอยู่บนรากฐานของเกษตรกรรมและการใช้ทรัพยากร  ทางธรรมชาติของประเทศ การประมงจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศมาก เพราะกิจการประมงทำให้อุตสาหกรรมใกล้เคียงเจริญขึ้นและให้อาหารโปรตีนที่มีคุณภาพสูงแต่มีราคาถูกแก่ประชาชนภายในประเทศซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำ นอกจากนี้ ยังมีผลทำให้รัฐได้รับเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยการจัดส่งผลิตภัณฑ์ประมง เช่น กุ้ง ปลาแช่เย็น ปลากระป๋อง ฯลฯ ไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาดุลการค้าระหว่างประเทศทางหนึ่ง
สภาพแหล่งหาปลาน้ำจืดของชนบทไทย
สภาพชายทะเลซึ่งเป็น บริเวณทำอวนรุน
การจับปลาด้วยยอเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน
หมู่บ้านชาวประมงทะเล
เนื่องจากประชากรในประเทศของเราได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง ในอัตราสูงถึงร้อยละ 3.2 ต่อปี การประมงของประเทศจึงได้มีความสำคัญขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะการประมงทะเลได้ขยายตัวรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว จะเห็นได้จากสถิติของกรมประมง ใน พ.ศ. 2505 ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั่วราชอาณาจักร มีจำนวน 340,000 ตัน แต่ใน พ.ศ. 2523 ปริมาณสัตว์ที่จับได้ เพิ่มขึ้นเป็น1,797,000 ตัน

เมื่อประมาณ 50 ปีมาแล้ว การประมงน้ำจืดมีความสำคัญต่อประเทศมาก ชาวไร่ชาวนา หาปลาโดยใช้เครื่องมือที่ใช้มาแต่โบราณกาล เช่น ลอบ เบ็ด แห สวิง ยอ บ่อล่อ สำหรับชาวประมงที่อยู่ตามหมู่บ้านชายทะเลก็หากินโดยทำการประมงใกล้ฝั่งในน้ำลึกไม่เกิน 15 เมตร โดย ใช้ลอบ โพงพาง โป๊ะ ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือประจำที่แทบทั้งสิน และเรือที่ใช้หาปลาก็เป็น เรือใช้ใบมีขนาดความยาวประมาณ 3-6 เมตร

ต่อมาเมื่อความต้องการปลาเป็นอาหารมีเพิ่มขึ้น ชาวประมงเริ่มรู้จักใช้อวนที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็มีการใช้เครื่องมือที่เรียกกันทั่วไปว่า อวนตังเก ในการจับปลาฝูง เช่น ปลาทู ปลาลัง ส่วนชาวประมงที่มีทุนทรัพย์น้อยก็เริ่มใช้อวนลอยเพื่อหาปลา

ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ระหว่างปี 2505-2521
การจับปลาขนาดเล็กด้วยอวนรุนบริเวณชายฝั่ง เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ เป็นการทำลายทรัพยากรปลาที่จะโตขึ้นมาเพื่อเป็นอาหารคน
ในระยะ 25 ปีที่ผ่านมาการประมงทะเลได้รุดหน้าไปไกลมาก ได้มีการใช้เครื่องมือจับปลาที่มีประสิทธิภาพสูง คือเครื่องมืออวนลากแบบต่าง ๆ เรือที่ใช้หาปลาก็มีปริมาณเพิ่มขึ้นและ  เป็นเรือใช้เครื่องยนต์แทบทั้งสิ้น ขนาดของเรือได้เพิ่มขึ้นจาก 6-7 เมตร เป็นประมาณ 30 เมตร ในปัจจุบัน อาณาบริเวณการทำการประมงได้แผ่ขยายไปในทะเลจีนใต้และในทะเลอันดามัน

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการประมงทะเลและจับปลาเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้ปริมาณปลาที่จับได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในปัจจุบันผลิตผลจากการประมงทะเลมีปริมาณสูงขึ้นถึง ร้อยละ 80 ของปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ทั่วประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของอวนลาก อย่างรวดเร็วได้ทำให้ประชากรของปลาและสัตว์น้ำหน้าดินในอ่าวไทยลดน้อยถอยลงเป็นลำดับจน  เป็นที่น่าวิตกกว่า หากไม่มีมาตรการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงดังกล่าวแล้ว ทรัพยากรดังกล่าวก็จะไม่ให้ผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจแก่ประเทศต่อไป กรมประมงซึ่งเป็นส่วนราชการของประเทศที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ จึงได้วางโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ เป็นโครงการระยะยาวที่จะวางมาตรการที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิชาการ ทั้งนี้เพื่อให้ทรัพยากรดังกล่าว ผลิดอกออกผลบังเกิดประโยชน์อย่างเต็มที่แก่ประเทศของเราเรื่อย ๆ ไป
อวนลากขณะเริ้มปล่อยลงทะเล
เรือประมงชายฝั่ง

No comments
Back to content