สีของตัวปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

สีของตัวปลา

บทความ > ปลา
3. สีบนตัวปลา
ปลามีสีสวยงามไม่แพ้สัตว์บกพวกนกหรือผีเสื้อ เราจึง นิยมเลี้ยงปลาไว้ดูเล่นในตู้กระจก หรือ อ่างน้ำ ในประเทศเยอรมนี ซึ่งแม้จะอยู่ในเขตอบอุ่น ก็มีอุตสาหกรรมการเลี้ยง ปลาสวยงามเป็นล้ำเป็นสันมาก สามารถเพาะปลาสวยงามชนิด ต่าง ๆ ที่เป็นปลาจากเขตร้อน ส่งไปขายในสหรัฐอเมริกามีมูลค่าเท่ากับฝ้ายที่ประเทศต้องสั่งซื้อมาจากสหรัฐฯ เพื่อนำมาทอใช้ในประเทศของตน

ธรรมชาติไม่ได้สร้างสีสันของปลาเพียงเพื่อให้มีความ สวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ปลาสามารถหลบซ่อนเหยื่อหรือ ปรับตัวให้กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อหลีกเลี่ยงภยันตรายจากศัตรู หรือเป็นสื่อช่วยกระตุ้นในฤดูที่มีการสืบพันธุ์  (nuptial dress) อีกด้วย

โดยทั่วไปปลามักมีสีเงินและสีฟ้าหรือน้ำเงิน บ้างก็มี สีเขียว สีเทาหรือสีน้ำตาล ปลาทะเลบางจำพวก เช่น ปลาตามโขดหินกองหรือปะการัง มีสีสันสลับสดใสน่าดูมาก เช่น สีเหลือง  สีพื้น ปลาหลายชนิดยังมีจุดหรือแถบสีอยู่ประปรายโดยทั่วไป ในปลาหลายชนิด ปลาเพศผู้และเพศเมียมีสี่ไม่เหมือนกัน เช่น ปลากินยุง(Peocillia) หรือ ปลากัด(Betta spp) ตัวผู้สวยงามมากกว่าเพศเมีย นอกจากนี้ปลาบางชนิด เช่น ปลากะพง เมื่อยังมีขนาดเล็กจะมีจุดหรือแถบสีชัดเจน  แต่เมื่อปลาโตมากขึ้น จุดหรือแถบสีนั้นก็จะเลือนราง หรือหายไปกลายเป็นสีอื่น

สีต่างๆ ทั้งหมดที่เราเห็นอยู่บนตัวปลา เกิดจากการ ปะปนของเซลล์สร้างสี 2-3 ชนิดเท่านั้น สีนอกจากนั้นอาจ เกิดจากการสะท้อนของแสงในน้ำ (apparent color)ตามปกติ ปลามีเซลล์สร้างสีดำ (melanophores) ซึ่งมีอนุภาคของสารเมลานิน (melanin) อยู่เป็นจำนวนมาก

แสงสะท้อนจากอนุภาคเมลานินเทลาน ผ่านผลึกของ กัวนิน (guanin) ซึ่งเป็นของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมากับเมือกที่ ปลาเกือบโตเต็มวัย  เกาะอยู่ตามผิวหนังซึ่งอยู่เหนือชั้นที่มีเซลล์สร้างสีดำ ทำให้เรา  เห็นปลามีสีเขียว สีฟ้า หรือสีน้ำเงิน แล้วแต่ปริมาณและสัดส่วนของเมลานินและกัวนินในปลาบางชนิด จุดสีหรือรงควัตถุ (pigment) จากเซลล์สร้างสีเหลืองผสมกับเมลานินและสารที่เรียก ว่า อิร์ริดิโอไซต์ (irridiocytes) ทำให้เกิดเป็นสีเขียวขึ้นมาได้  

สีแดงเกิดจากจุดสีที่สร้างด้วยเซลล์สีแดง (erythophres)  สีชมพู สีม่วง และสีคล้ายตอกกล้วยไม้ที่ปรากฏบนตัวปลาเกิด  จากการผสมเป็นสัดส่วนต่าง ๆ ของจุดสีจากเซลล์สร้างสีดังกล่าว และจากแสงสะท้อนมาจากน้ำมายังนัยน์ตาของเรา

เซลล์สร้างจุดสีเหล่านี้สามารถหดขยายได้อย่างรวดเร็ว การหดขยายเกิดจากการกระตุ้นของระบบประสาท อันเกี่ยวอย่างมากกับการมองเห็นของปลา การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีระวิทยาในตัวปลาเอง ดังนั้นปลาจึงสามารถเปลี่ยนสีและลวดลายให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้ดี
ลูกปลาวัยอ่อนมาก
ลูกปลาวัยอ่อน
ลูกปลาเกือบโตเต็มวัย
ลูกปลาโตเต็มวัย
การเปลี่ยนแปลงตามสิ่งแวดล้อม ปลาส่วนใหญ่สามารถปรับสี และลวดลายบนตัวให้กลมกับถิ่นกับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ทั้งยังเพื่อหลบหลีกอันตรายจากศัตรูของมัน ตัวอย่างที่ดี ในเรื่องนี้ ได้แก่ ปลาจำพวกปลาซีกเดียว (Bounder) ซึ่งสามารถเปลี่ยนสีได้รวดเร็วมาก ได้พบว่าการกระตุ้นที่ทำให้เกิดการ เปลี่ยนสีและลวดลายบนตัวปลา เกิดจากการ มองเห็นของปลา แล้วทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางด้านสรีรวิทยาและการยืดหดของเซลล์สร้างสีในผิวหนังของปลา ในภาพนี้หากหัวปลาอยู่บนพื้นที่มีสีขาว ปลาจะ มีสีจางมาก เมื่อเปลี่ยนพื้นเป็นสีดำ ปลาตัว นั้นก็จะเปลี่ยนสีดำเข้มขึ้น หากปลาอยู่บนฟัน ที่ที่มีสีดำขาวประปราย ปลาก็จะเปลี่ยนสีและ ลวดลายให้กลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมด้วย
การเปลี่ยนแปลงตามอายุของปลา ปลาหลายชนิดเปลี่ยนสีและลวดลายบนตัวตามสภาพ เซลล์สร้างจุดสีเหล่านี้สามารถหดหรือขยายตัวได้โดย อายุ และการเจริญเติบโต เช่น ในปลาจำพวกปลาสินสมุทรในวงศ์โพมาแคนติดี รวดเร็ว การหดหรือขยายตัวเกิดขึ้นจากการกระตุ้นโดยระบบ(Pomacanthidae) ที่เห็นในภาพนี้

No comments
Back to content