การวางไข่ของปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การวางไข่ของปลา

บทความ > ปลา
ปริมาณไข่ที่ปลาวางในฤดูหนึ่ง ๆ มีจำนวนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับชนิดของปลา ปลาพระอาทิตย์ (Mota nota) ซึ่งเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มีไข่ขนาดเล็กมาก ในฤดูหนึ่งๆปลา ชนิดนี้ อาจวางไข่มากกว่า 30 ล้านฟอง ตรงข้ามกับปลาฉลามซึ่งเป็นปลาที่มีไข่ขนาดใหญ่ ใน ฤดูวางไข่ฤดูหนึ่งอาจวางไข่เพียง 3 - 4 ฟองเท่านั้น หน่วยงานอนุรักษ์ปลาผิวน้ำ สถานีวิจัยประมงทะเลของกรมประมง ได้เคยทำการศึกษา

ความดกของไข่ปลาทูในอ่าวไทยระยะหลายปีที่แล้วมา และได้ประเมินความดกของไข่ปลาทูไว้ว่า อยู่ในระหว่าง 50,000 - 200,000 ฟอง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลาที่วางไข่ ปลาน้ำจืดในบ้านเราหลายชนิด ซึ่งปลาตัวพ่อหรือตัวแม่จะระวังและดูแลรักษาไข่ในระยะฟักตัว ออกไข่น้อยกว่าปลาทะเลดังกล่าวข้างต้นมาก ปลากัดอาจวาง ไข่เพียง 200 - 700 ฟองใน 1 ปี จึงอาจสรุปได้ว่า ปลาที่ออกไข่มากที่สุดส่วนใหญ่ ได้แก่ ปลาทะเล ซึ่งพ่อแม่ปลามักไม่ดูแลรักษาไข่ แต่จะปล่อยให้ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ พวกต่อมาเป็นปลาที่วางไข่ให้เกาะติดตามสาหร่ายหรือพืชน้ำ ส่วนปลาที่ระวังรักษาหรือซ่อนไข่มีความดกของไข่น้อยที่สุดความดกของไข่ขึ้นอยู่กับอายุความสมบูรณ์และขนาดของปลา แต่เมื่อปลามีอายุมากขึ้น  ความดกอาจลดลง หรือถ้าเข้าในวัยแก่มาก ไข่จะไม่ฟักเป็นตัว สาเหตุที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ ได้แก่ อาหาร ดังนั้นความดกของไข่และปริมาณไข่ที่ปลาวางแต่ละปีมักจะมีจำนวนไม่สม่ำเสมอ คือจะเปลี่ยนไปทุกปี

ก่อนที่ปลาจะทำการสืบพันธุ์ ปลาหลายชนิดจะมีการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เกิดขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นให้ปลาพร้อมที่จะเข้าร่วมสืบพันธุ์ (secondary sexual characteristics) เช่น ปลาตัวผู้อาจมีสีสันสวยงามในปลาจำพวกปลากินยุง หรือปลาตัวเมียอาจจะใหญ่กว่าปลาตัวผู้ ทั้งนี้ เนื่องจากปลาตัวผู้เจริญเติบโตเต็มวัยเร็วกว่าปลาตัวเมีย ครีบในปลาบางชนิดก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น ในปลาสลิด (Trichogaster Pectoralis) สำหรับปลาแซลมอนในมหาสมุทรแปซิฟิก ในฤดูสืบพันธุ์ตัวผู้จะมีสีสันเข้มกว่าปลาตัวเมีย และมีการเปลี่ยนแปลงในโครงกระดูกขากรรไกรทำให้โค้งงอ เห็นได้ ชัดมาก
ในฤดูสืบพันธุ์ของปลาแต่ละชนิด สาเหตุที่กระตุ้นให้ปลาเริ่มทำการสืบพันธุ์ ได้แก่ สภาพ แวดล้อมที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของลูกปลาที่จะฟักเป็นตัวออกมา ประชากรของปลาทูในอ่าวไทย พบว่าลูกปลาวัยอ่อนอาจมีความสัมพันธ์กับปริมาณของแพลงก์ตอน  ที่มีมากสุดในรอบปี เช่น ในบริเวณอ่าวไทยตอนใน ในระหว่างเตือนมีนาคม-กันยายน ทุกปี สำหรับปลาบางชนิด การวางไข่จะอยู่ในระยะเวลาที่การเจริญเติบโตของศัตรู ซึ่งเป็นตัวทำลายไข่ หรือลูกปลา อยู่ในระดับต่ำ ปลาทะเลส่วนใหญ่จะวางไข่ในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด สำหรับ ปลาทูในอ่าวไทย เราพบว่าไข่สุกไหลในฤดูสืบพันธุ์มีปริมาณสูงในเวลาพลบค่ำหรือกลางคืน ซึ่งอันหนึ่งที่ช่วยให้ไข่ที่สามารถฟักตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น รอดพ้นอันตรายจากการกระทำของศัตรู เพราะในเวลากลางคืน โอกาสที่ศัตรูจะมองเห็นไข่ซึ่งโปร่งใสและมีขนาดเล็ก เช่นไข่ปลาทูมีน้อยมาก

ลักษณะกายนอกของไข่ปลาบางชนิด
ไข่ปลาทั่วไป
ไข่ปลากะตัก
ใช่ปลาปากกลม
ไข่ปลาฉลามกบหรือฉลามหิน
ไข่ปลานกกระจอก
ไข่ปลานกกระจอก

No comments
ไข่ปลานกกระจอก
Back to content