ประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ประเมินคุณค่าทางเศรษฐกิจของปลา

บทความ > ปลา
ปลาอินทรีจุด(Spotted Spanich macharel: Scom beroromorus guttatum)
เหงือกปลาทู (ปลาที่กินแพลงก์ตอน เป็นอาหาร) มีลักษณะยาวเรียว และมีจำนวนมากประมาณ 54 ซี แต่ละซีมีกิ่งแยกออกมาเพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพในการกรองอาหาร
โดยหลักการดังกล่าวข้างต้น นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถประเมินขนาดของประชากรของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจในบริเวณหนึ่งได้ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ดังกล่าวไปใช้ในการพิจารณาพัฒนาการประมง ทำให้ทรัพยากรดังกล่าวมีขนาดมากพอที่จะผลิดอกออกผลให้นั่งเกิดประโยชน์แก่มนุษย์ได้

การตรวจดูลักษณะของอวัยวะบางอย่างของปลา ทำให้เราทราบถึงพฤติกรรมในการหาอาหารและการกินอาหารของปลาได้ เช่น

ก) ลักษณะของปากและฟัน
ปลาจำพวกที่ถูกจัดเป็นผู้ล่า (predators) ส่วนใหญ่จะมีฟันแหลมคมเห็นได้ชัด การกิน อาหารก็เป็นแบบไล่กัดกินที่ละตัว นอกจากนี้หากดูขากรรไกรจะเห็นว่าขากรรไกรบนและล่างแข็งแรง ปลาเหล่านี้ ได้แก่ ปลาช่อน ปลาปากคม (Saurida spp.) ปลาเค้า Wallago spp.) ปลาอินทรี เป็นต้น

ปลาจำพวกที่กินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร เช่น ปลาทู (Club mackerel, Rastrelliger brachysoma) ปลาแป้น (Leiognaihus sgg.) ปลาหลังเขียวมีพื้นขนาดเล็กมาก หรือไม่มีเลย ขากรรไกรก็ไม่แข็งแรง เช่นปลาแป้นซึ่งมีปากขนาดเล็กแต่ยืดออกมาได้มาก ปลาบางชนิด เช่น ปลาปากแตร (Fistularidae)  มีปากคล้ายหลอดดูด กินแพลงก์ตอนเป็นอาหารเช่นกัน

ปลาตามหินปะการัง เช่น ปลาสลิดหิน (green puller) มีฟันซึ่งมีลักษณะคล้ายฟันกระต่าย เพื่อใช้แทะเล็มสาหร่ายตามหินปะการังกินเป็นอาหาร มีการศึกษาพบว่า ปลานกแก้ว (parrot fish)ตัวหนึ่งๆ สามารถขบบดหินปะการังได้ประมาณ 30 กิโลกรับต่อปี

ปลาอีกกลุ่มหนึ่งมีพื้นเป็นแผงแข็งแรง เช่น ปลาจำพวกกระเบน ชอบกินหอยเป็นอาหาร  ก็ใช้ฟันดังกล่าวชบเปลือกหอยให้แตกแล้วจึงกินเนื้อหอย
ในปลาจำพวกตะเพียน ปลาไน อาจมีฟันบดตรงบริเวณคอหอย เพื่อใช้บดสาหร่าย หรือ พืชน้ำที่กินเข้าไปให้ละเอียด

ข) ซี่เหงือก
เมื่อเปิดกระดูกกระทุ้งแก้มของปลาเราจะเห็นเหงือกอยู่ภายใน บนด้านหน้าของกระตูก โครงเหงือกจะมีส่วนที่ยืนออกมาเป็นซี่เรียวยาวหรือเป็นตุ่ม ส่วนนี้เราเรียกว่า ซี่เหงือก ปลาที่กิน  พืชน้ำ เช่น กินสาหร่าย ซี่เหงือกของปลาเหล่านี้จะสั้นและมีจำนวนน้อย ส่วนปลาจำพวกที่กิน  แพลงก์ตอนเป็นอาหาร ซี่เหงือกยาวเรียวและมีเป็นจำนวนมาก สำหรับปลาบางชนิด เช่น ปลาทู ซี่เหงือกแต่ละซี่ยังแตกแขนงออกไปอีก ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มสมรรถภาพให้แก่ปลาในการกรองอาหาร ขนาดเล็กจากน้ำ ปลากินเมื่อหรือล่าเหยื่อเป็นอาหาร ซี่เหงือกอาจจะมีจำนวนลดลงมาก และสั้นทู่ หรือเห็นเป็นเพียงตุ่มเท่านั้น หรืออาจจะไม่มีเลย เช่น ปลาปากคม ปลาแต่ละชนิดอาจมีจำนวน ขนาด และรูปร่างซี่เหงือกเกือบคงที่ เช่น ปลาทูจะมีซี่เหงือก  บนโครงเหงือกคู่ที่หนึ่งเป็นจำนวน 54 ซี่ นักวิทยาศาสตร์ทางด้านอนุกรมวิธานของปลา จึงใช้ ลักษณะดังกล่าวในการจำแนกแยกชนิดของปลา

ค) กระเพาะและลำไส้ของปลา
ปลาล่าเหยื่อเป็นอาหารมีกระเพาะยานใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบกับขนาดของลำตัว สำหรับปลาที่กินพืชเป็นอาหาร มีกระเพาะเล็กหรือเป็นเพียงส่วนของลำไส้ที่โป้งขึ้นมา และมีลำไส้ยาวเพื่อเพิ่มพื้นที่และเวลาในการย่อยอาหาร ในปลาหลายชนิดเราจะพบอวัยวะพิเศษที่ส่วน  ปลายของกระเพาะ ในปลาที่กินพืช เช่น ปลาโคกจะมีติ่งยืนออกมามากมายเพื่อช่วยในการดูดซับอาหาร อวัยวะดังกล่าวเรียกว่า “ไพรอลิกซีกา” (pylorie caeca) ในปลาจำพวกฉลาม กระเบน เรา พบว่าสำไส้ของปลาเหล่านี้มีส่วนม้วนหรือเป็นเกลียว เรียกว่า สครอลล์วาล์ฟ (scroll valves) หรือ สไปรัลวาล์ฟ (spiral valves) ใช้ช่วยในการย่อยและดูดซึมเอาอาหารไปเสียงร่างกาย
เหงือกปลาอินทรีจุด (ปลาที่กิน ปลาซึ่งเล็กกว่ามันเป็นอาหาร) มี ซีเหงือกสันกว่าซึเหงือกของปลาทู และมีจำนวนน้อยกว่า คือ มีเพียง 11 ซีเท่านั้น
ปลาปากคม (Lizard fish: Saurida gracillis)

No comments
Back to content