ความสำคัญของครีบปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ความสำคัญของครีบปลา

บทความ > ปลา
ครีบอกของปลาจำพวกปลากระเบนมีความสำคัญในการ เคลื่อนไหวในน้ำเป็นอย่างมาก แต่ในปลาหลายชนิดครีบคู่มีหน้าที่เฉพาะเพื่อการทรงตัวในน้ำ ปลาบางจำพวก เช่น ปลา ในวงศ์ปลานกกระจอก (Exocoetidae) ครีบอกมีขนาดใหญ่มาก ใช้ช่วยพยุงตัวให้ปลาถลาขึ้นพ้นน้ำร่อนไปได้ไกล ๆ

ปลาบางชนิด เช่น ปลาไหลนา ครีบคู่เสื่อมหายไป เพราะ การเคลื่อนไหวของปลาไหล ใช้การยืดหดของกล้ามเนื้อลำตัวแทนทั้งหมด ทำให้ปลาเคลื่อนที่ได้เหมือนงูเลื้อย ปลาบางชนิด ไม่มีครีบท้อง เช่น ปลาจะละเม็ด ปลาตาบเงิน ปลาปักเป้า เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่าในบรรดาครีบทั้งหลาย ครีบท้องมีประโยชน์น้อยที่สุดในการพยุงตัวและการทรงตัวของปลา จึง เห็นได้ชัดว่ามีขนาดเล็กกว่าครีบอื่น

ดังได้กล่าวมาแล้ว นักอนุกรมวิธานปลาได้ใช้ตำแหน่ง ของครีบคู่ ในการจำแนกกลุ่มของปลาออกเป็นปลาจำพวกที่มี โครงครีบซึ่งเป็นก้านอ่อน (soft - rayed fish) และปลาที่มีโครงครีบ ซึ่งมีก้านเป็นหนาม (spiny - rayed fish)

ครีบหลังอาจมีเพียงครีบเดียว หรือมากกว่า 1 ครีบก็ได้ ในปลาบางชนิดครีบหลังอันที่ 2 อาจจะเป็นครีบไขมัน (adipose fin) หรืออาจประกอบด้วยครีบฝอย (finlets) ก็มี ใน ปลากระดูกแข็งชั้นต่ำ ครีบหลังจะมีก้านครีบอ่อน ประกอบด้วย กระดูกชิ้นเล็กๆ เรียงต่อกันเป็นข้อ ๆ ตอนปลายของก้านแตก ออกเป็นแฉก ๆ ปลาจำพวกนี้ได้แก่ ปลาโคก (glzzard shad) ปลาอกแล หรือ หลังเขียว (sardine)

MDN (Carasius auratus) เป็นปลาน้ำจืดในกลุ่มใกล้เคียงกับปลาตะเพียน มีการคัดเลือกพันธุ์มานานนับพันปี จนมีลักษณะแปลก โดยเฉพาะชนิดที่มีครีบ ต่าง ๆ ขนาดใหญ่โบกพัดน้ำดูสวยงามมาก

ในปลากระดูกแข็งชั้นสูงขึ้นมา ครีบหลังตอนแรกก้านครีบจะเป็นหนามแข็ง ส่วนครีบ หลังอันถัดมาเป็นก้านครีบอ่อน เช่น ในปลาจำพวกกะพง (Snappers) ส่วนปลาทู ปลาลัง ยังมีครีบฝอย (finlets) จำนวน 5 ครีบอยู่ถัดไปทางโคนหาง กับอีก 5 ครีบอยู่ตรงกันข้ามทางด้านท้อง ท้ายครีบทวาร

ครีบที่เป็นหนามทำให้ครีบแข็งแรงขึ้น และอาจใช้ในการป้องกันศัตรูได้ด้วย ในปลาบาง จำพวก เช่น ปลาดุก (Clarias spp.) มีครีบหลังและครีบทวารยาว การโบกพัดของครีบยังทำให้ปลา เดินหน้าและถอยหลังได้ อย่างไรก็ดี ในปลาบางชนิด เช่น ปลาติด (sucker fish) ครีบหลังอัน แรกซึ่งอยู่บนหัวจะมีวิวัฒนาการไปเป็นอวัยวะที่ใช้ยึดเกาะติด ดังนั้น ปลาพวกนี้จึงอาศัยเกาะติด ปลาใหญ่ ๆ เช่น ปลาฉลาม ได้ และคอยรับเศษอาหารที่หลงเหลือจากปลาใหญ่เหล่านั้น

ครีบหางมีความสำคัญมากในการเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนทิศทางในการเคลื่อนที่ ปลา ที่ว่ายน้ำเร็วมักจะมีส่วนตัด (cross section) ของคอดหาง (caudal peduncle) เป็นรูปกลม เช่น ปลา ฉลาม ครีบหางในปลากระดูกแข็งชนิดต่าง ๆ มีรูปร่างแตกต่างกันไป ปลาจำพวกที่ว่ายน้ำเร็ว หรือ ปลาฝูงในมหาสมุทร เช่น ปลาทูนา ครีบหางจะกว้างแต่เว้าลึกมีรูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว ปลาทูมีครีบหางเป็นรูปส้อม ปลาที่ว่ายน้ำช้าอาจมีครีบหางเป็นรูปพัด หรือ หรือรูปหางตัดหรือรูปกลม แล้วแต่ชนิดของปลา ปลาฉลามซึ่งเป็นปลาจำพวกที่มีกระดูกอ่อนมีลักษณะของครีบหางติดแผก ไปจากปลาจำพวกกระดูกแข็ง กล่าวคือ แกนหางงอนขึ้นไปทางส่วนบนของครีบหางทำให้ส่วนบน ของครีบหางยาวกว่าส่วนล่าง (heterocercal tail) นี้เป็นลักษณะที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ปลาฉลามกับปลาโบราณบางพวกที่พบกลายเป็นซากหิน ส่วนหางของปลากระเบนหลายชนิดมี ลักษณะเป็นแส้ยาว

ครีบทวารมีส่วนช่วยในการพยุงตัว และในการเคลื่อนไหวของปลาเหมือนกัน เช่น ในปลากราย และปลาสลาดหรือฉลาด มีครีบทวารยาวมาก การพัดโบกของครีบทวารจะทำให้ปลาว่าย ไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้ จะเห็นได้ว่าในปลาจำพวกนี้ ครีบอกมีขนาดเล็ก ส่วนครีบท้องยิ่งเล็กมาก จนไม่น่าจะใช้ประโยชน์ได้


ปลาสิงโต (Pierpis lunulata) เป็มปลาทะเลที่อาศัยอยู่ในเขตร้อน บริเวณหินปะการัง ครีบที่ใช้ในการเคลื่อนไหวมีลักษณะแตกกิ่งคล้าย สัตว์น้ำพลายชนิดในบริเวณที่อาศัย ก้านครีบมีความแหลมคม แข็ง และมีพิษ เพื่อใช้ป้องกันตนเองจากภยันตราย

No comments
Back to content