ความรู้เรื่องปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ความรู้เรื่องปลา

บทความ > ปลา
ปลาเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ เนื้อปลาเป็นอาหารที่มีคุณค่าและ เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ปีหนึ่ง ๆ จึงมีปลาน้ำจืดและปลาน้ำเค็มถูกจับขึ้นมา เพื่อใช้ทำอาหารเป็นจำนวนมาก เฉพาะปลาทะเลที่ถูกจับขึ้นทั่วโลกมีจำนวน  มากกว่าปีละ 60 ล้านตัน

ความต้องการปลาเพื่อเป็นอาหารสำหรับบริโภคของประชาชนภายในประเทศ และการส่งเสริมปลาเป็นสินค้าออกทำให้การขยายตัวอย่างรวดเร็วของการประมงทะเล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประมง อวนลากและอวนรุ่นชายฝั่งเป็นมูลเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ประชากรของปลาทะเลซึ่งหากินตามบริเวณพื้น ท้องทะเล หรือที่เราเรียกกันว่า ปลาหน้าดิน ทั้งในอ่าวไทยและด้านทะเลอันดามัน มีปริมาณลดน้อย
ดังนั้น เราจึงต้องเร่งโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรเหล่านี้เพื่อให้บังเกิดผลประโยชน์แก่เศรษฐกิจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้และโดยต่อเนื่อง ในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงเราจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อให้ชาวประมงได้ร่วมมือและได้รับผลประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว และในขณะเดียวกันให้บังเกิดผลดีต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของคนในชาติ
ทั่วไป  

การวางมาตรการที่เหมาะสม จำต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับชนิด ลักษณะรูปร่างโดยทั่วไป ปริมาณของปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ นิสัยและความเป็นอยู่ และการเปลี่ยนแปลงสภาวะและ ขนาดของประชากรของปลาที่เราต้องการจะอนุรักษ์ ดังนั้น ความรู้ทางด้านชีววิทยาของปลาหรือ สัตว์น้ำจึงมีความสำคัญในการอนุรักษ์หรือพัฒนาการใช้ทรัพยากรเพื่อเราจะได้รับประโยชน์จาก ทรัพยากรเหล่านี้อย่างเต็มที่
บทความเรื่องปลาฉบับนี้ ได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านและผู้ที่สนใจทั่วไป  มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปร่างและลักษณะของปลาโดยทั่วไป ให้เข้าใจถึงความต้องการในเรื่อง  ที่อยู่อาศัย อุปนิสัยและพฤติกรรมบางประการที่ช่วยให้ดำรงชีวิตอยู่ และการจำแนกปลาออกเป็น กลุ่มใหญ่เพื่อความสะดวกในการศึกษาทางชีววิทยาต่อไป

ความรู้ทั่วไปในเรื่องปลา
นักวิทยาศาสตร์จัดความรู้และเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับรูปร่างลักษณะ การจำแนกแยกชนิด  และชีวประวัติของปลาไว้ในหมวดวิชา มีนวิทยา ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของวิชาสัตว์วิทยา ในภาษา อังกฤษเรียกวิชานี้ว่า ichthyology (ichthyo + logy) คำว่า ichthyo มาจากภาษากรีก ichthys ซึ่ง แปลว่า ปลา และตรงกับคำว่า มีน ส่วน “logy” แปลว่า วิชาหรือวิทยา
แผนภาพแสดงจำนวนชนิดของปลา เปรียบเทียบกับจำนวนชนิดของสัตว์ประ เภทที่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆ

ลักษณะและครีบของปลาชนิดต่างๆ
1) ปลาลำตัวแบนข้าง  
2) ปลาจำพวกปักเป้าในวงศ์เตตราโอดอนติดี (Tetraodontidae) รูปร่างกลมแบบลูกโลก
3) ปลาจำพวกปลาสี่เหลี่ยมในวงศ์ออสตราไซออนติดี (Ostras-ciontidae)
4) ปลาจำพวกกระเบนลำตัวแบนลง
5) ปลาจำพวกปลาผีเสื้อหรือโสร่งแขก ในวงศ์โมโนดักทิลิดี (Monodactylidae)
6) ปลาที่มีครีบหลังและครีบทวารเจริญเติบโตดีมาก (Pteracilis spp.)  
7) ปลาคางคกในวงศ์โลพีอิดี (Lophiidae) ลำตัวแบนลง
8) ปลากระเบนลำตัวแบนลง
9) ปลาหูช้างในวงศ์แพลทาซิดี (Platacidae) ลำตัวแบนข้าง
10) ปลาซีกเดียว ลำตัวแบนข้าง
11) ปลาม้าน้ำ ลำตัวมีเกล็ดเชื่อมกันเป็นเกราะหุ้มตัว
12) ปลาจำพวกปลาบู่
13) ปลาตูหนา ลำตัวยาวคล้ายง  
14) ปลาทูนา ลำตัวเป็นแบบกระสวย  
15) ปลาจำพวกปลาหลังเขียว ลำตัวเป็นแบบกระสวย



No comments
Back to content