ลักษณะรูปร่างของปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ลักษณะรูปร่างของปลา

บทความ > ปลา
ปลาเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มของสัตว์จำพวกเลือดเย็น (poikilothermat animals) ซึ่งหมายความว่าอุณหภูมิของเลือดในตัวของมันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม โดยทั่วไปอุณหภูมิของตัวปลาแตกต่างจากน้ำรอบตัวของมันเพียง 0.5-1 องศา เช่นปลาทูนา (Yellow Fin Tuna; Thunnus abacares) ซึ่งว่ายน้ำเร็วและใช้พลังงานมาก อาจมีอุณหภูมิที่แตกต่างจากน้ำที่มันอยู่อาศัยมากกว่า 10 องศาเซลเซียส

ปลาหายใจด้วยเหงือก ส่วนใหญ่มีครีบเพื่อช่วยในการทรงตัวและเคลื่อนไหว ปลาใช้น้ำเป็นแหล่งในการดำรงชีวิต
จากหลักฐานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ปรากฏว่าปลามีจำนวนชนิดมากที่สุดในบรรดาสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังด้วยกัน โดยสามารถเปรียบเทียบอย่างคร่าว ๆ ได้ดังต่อไปนี้

จำนวนสัตว์ จำนวนชนิด คิดเป็นร้อยละ
ปลา 20,000 48
นก 8,600 21
สัตว์เลื้อยคลาน 6,000 14
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 4,500 11
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 2,500 6

รูปร่างและลักษณะทั่วๆ ไปของปลา
1. ขนาดและรูปร่าง
ปลาทั่ว ๆ ไปก็เหมือนกับสัตว์บกที่เราเห็นทั้งหลาย คือ เป็นสัตว์ที่มีลักษณะด้านซิกซ้ายของ ลำตัวเหมือนกับทางซีกขวา ซึ่งทางวิทยาศาสตร์เรียกว่า bilaterally symmetrical shape ปลาจำพวกต่าง ๆ มีขนาดและรูปร่างไม่เหมือนกัน ปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดเห็นจะได้แก่ ปลาจำพวกปลาบู่ ในประเทศฟิลิปปินส์ มีชื่อว่า "มิสติคทีสลูซอเนนซิส” (Mistichthys luzonensis) ปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มวัยและสามารถสืบพันธุ์ได้ จะมีขนาดความยาวเพียง 1.2 เซนติเมตร ปลาทู(Rastrellinger spp.) ที่พบในตลาดบ้านเรามีขนาดเฉลี่ยตั้งแต่ 10.5 เซนติเมตร ถึงประมาณ 23 เซนติเมตร  ปลาอินทรี (Scomberomorus spp.) ที่จับได้ในอ่าวไทยมีขนาดความยาวประมาณ 20 ถึง 80 เซนติเมตร ปลาที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่พบเห็นกัน ได้แก่ ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) ซึ่งอาจมีความยาวถึง 20-22 เมตร และหนักประมาณ 25 ตัน

รูปร่างของปลาโดยทั่วไปแตกต่างกันไปตามชนิดของปลา ปลาส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นแบบกระสวย (fusiform) ซึ่งเป็นลักษณะของปลาที่ว่ายน้ำเร็ว และปลาพวกนี้มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใน ทะเล เช่น ปลาทู ปลาโอหรือปลาทูนา เมื่อตัดปลาในแนวตั้งฉากกับแกนยาวของลำตัวจะเห็น  หน้าตัดเป็นรูปกลมหรือรูปไข่ รูปแบบนี้เป็นรูปลักษณะของปลาส่วนใหญ่ ปลาจำพวกอื่น ๆ รูปร่างอาจจะผิดแผกไปจากแบบที่ได้กล่าวไว้ เช่น มีรูปกลมเหมือนลูกโลก (globiform) ได้แก่ ปลาปักเป้า  บางชนิดมีรูปยาวคล้ายงู (anguilliform) เช่น ปลาไหลทะเล (Muraenesox spp.) หรือปลาไหลน้ำจืด (Fluta alba) ที่มีในบ้านเราปลาจำพวกแบนข้าง (compressed form) เช่นปลาผี้เสื้อ หรือปลาจะละเม็ด (Pampus spp.) บางชนิดอาจจะแบนมากและลำตัวยาวคล้ายแถบผ้า เช่น ปลา (Trichiurus lepturus) บางชนิดอาจมีรูปร่างแบนลง (depressed form) เช่น ปลากระเบน ปลาคางคก

2. ผิวหนังและเกล็ดปกคลุมร่างกาย
ปลามีผิวหนังเรียบอ่อนนุ่มคลุมตลอดลำตัว และมีต่อมขับเมือกโดยทั่วไป เมือกที่ขับออกมา มีประโยชน์ช่วยทำให้การเสียดสีและความฝืดลดลงในขณะที่ปลาว่ายน้ำ ปลาบางจำพวก เช่น ปลาไหลนา ปลากด ปลาแขยง และปลาดุก เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดปกคลุม จึงมีเมือกมาก แต่ปลาส่วนใหญ่มีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว

เกล็ดของปลามีหลายแบบด้วยกัน ในปลาจำพวกปลากระดูกอ่อน เช่น ฉลามและกระเบน ถ้าเราเอามือลูบจากทางหางไปส่วนหัวจะรู้สึกสาก ๆ ที่ทำให้รู้สึกสากเพราะเมื่อเราสัมผัสกับเกล็ดเล็ก ๆ ที่ปกคลุมรอบตัว เกล็ดของปลาดังกล่าวเป็นเกล็ดแบบแพลคอยด์ (placoid scales) ซึ่งมี ลักษณะคล้ายพื้น (ฟันของปลาฉลามก็คือส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากเกล็ดนั้นเอง) เกล็ดแบบนี้ มีปลายเป็นหนามยืนไปทางท้าย

ปลาน้ำจืดจำพวกการ์ (gars) ในทวีปอเมริกาเหนือ มีเกล็ดหนาๆ เรียงติดกันแต่ไม่ซ้อนกัน เกล็ดเหล่านี้มีสารเคมีจำพวกแกโนอิน (ganoine) อยู่ด้วย เราจึงเรียกเกล็ดชนิดนี้ว่าแกนอยด์ (ganoid scale) ในปลาโบราณบางชนิดซึ่งพบกลายเป็นซากติดอยู่ในหิน หรือเรียกว่า ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) เป็นปลาจำพวกที่มีอวัยวะคล้ายปอดสำหรับหายใจ มีเกล็ดพิเศษปกคลุมร่างกายเรียกว่า คอสมอยด์ (cosmoid scales) มีลักษณะคล้ายเกล็ดแกนอยด์ แต่สารเคมีที่อยู่ในเกล็ดเป็นจำพวกคอสมีน(cosmine)
ปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน มีเกล็ดแบบไซคลอยด์ (cycloid) และทีนอยด์ (ctenoid) ปลากระดูกแข็ง (Teleosts) ที่มีโครงครีบเป็นก้านอ่อน เช่น ปลาหลังเขียว (Sardinella spp.) ปลานวลจันทร์ทะเล (Chanos chanos) และปลาตะเพียน (carps) จะมีเกล็ดแบบไซคลอยด์ ซึ่งถ้าเรานำมาตรวจดูโดย แว่นขยายจะเห็นรอยบนเกล็ดปรากฏเป็นวง ๆ ได้ชัดเจน วงเหล่านี้เราเรียกว่า "เซอร์คูไล” (circuli) สำหรับปลาที่อยู่ในเขตร้อนและเขตหนาว ระยะระหว่างวงแต่ละวงจะเห็นชัดเจนไม่เหมือนกัน ใน 1 รอบปีของอายุของปลา วงเหล่านี้บนเกล็ดอาจจะอยู่ชิดกันตอนหนึ่งและอีกตอนหนึ่งห่างกันทำให้เกิดเห็นเป็นวงปี (annuli) ขึ้นบนเกล็ด ทั้งนี้เพราะการเจริญเติบโตของปลาในเขตหนาวส่วนใหญ่มีการเจริญเติบโตดีเฉพาะในฤดูที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ คือในฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น นักชีวประมง จึงใช้ประโยชน์จากเกล็ดในการท้านายอายุของปลาได้ :


ส่วนปลากระดูกแข็งที่มีโครงครีบเป็นหนาม (spines) ส่วนใหญ่มีเกล็ดแบบทีนอยด์ เกล็ดทีนอยด์เป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดไซคลอยค์ แต่ตรงขอบท้ายเกล็ดที่มองเห็นจากภายนอกมี หนามเล็กแหลมอยู่ทั่วไป ตัวอย่างปลาที่มีเกล็ดแบบทีนอยด์ ได้แก่ ปลากะพง (Luianus spp.) ในทะเล และปลาเสือ (Toxotes chatarcus) ตามแม่น้ำในภาคกลางของประเทศไทย เฉพาะ ปลาชนิดหลังมีวิธีการหาอาหารแปลกกว่าปลาทั้งหมดเพราะมีความไวและสายตาดี จึงสามารถใช้ปากพ่นน้ำไห้ถูกตัวแมลงที่เกาะอยู่สูงถึง 1.50 เมตรจากผิวน้ำ ร่วงลงน้ำแล้วกินได้
เกล็ดของปลากระดูกแข็งทั้งหลายไม่ได้เรียงกันเหมือนปลาฉลาม แต่ซ้อนกันแบบเราเอา กระเบื้องมุงหลังคาบ้าน

ในปลาบางจำพวกอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงของเกล็ด เช่น เชื่อมติดกันเป็นแผ่นห่อหุ้มตัว ปลาพบในปลาข้างใส (Centriscus spp.) หรือปลาเขาวัว ส่วนปลาปักเป้าเกล็ดจะเปลี่ยนเป็นหนาม
ปลาบางจำพวก เช่น ปลากระเบน ปลาดุกทะเล หรือปลาหัวโขนบริเวณผิวหนังบางส่วนจะ มีต่อมขับสารมีพิษ ต่อมเหล่านี้โดยมากอยู่ใกล้กับโคนก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ถ้าอวัยวะเหล่านี้ ทิ่มตำเข้า พิษจะถูกขับเข้าสู่แผลทำให้เกิดความเจ็บปวด อาจเกิดเป็นแผลเน่า และมีอันตรายถึงตายได้

ปลาที่อาศัยอยู่ในที่ลึกในมหาสมุทร มีหลายชนิดที่มีอวัยวะเรื่องแสงอยู่บนลำตัวหรือหัว อวัยวะเหล่านี้มีประโยชน์แก่ปลา เพราะทำหน้าที่ล่อเหยื่อให้เข้ามาหา ช่วยในการมองเห็น ช่วย ป้องกันศัตรู และช่วยในการรวมกลุ่ม ต่อมเรืองแสงเป็นอวัยวะพิเศษที่มีการเปลี่ยนแปลงโดย วิวัฒนาการมาจากต่อมขับเมือกซึ่งอาจเป็นแสงที่ปลาทำขึ้นเองหรือมาจากสิ่งมีชีวิตอื่นก็ได้
ซ้าย : ปลาเสือ เป็นปลาน้ำจืดประเภท เสียงไว้ดูเพื่อความสวยงามชนิด หนึ่ง มีถิ่นอาศัยอยู่ในประเทศไทย ประเทศกัมพูชา เกาะบอร์เนียว และ
ขวา : ปลาเรืองแสง (lantart fish) มีอวัยวะ ที่ท้าแสงได้ (photophores) เป็นรู เล็ก ๆ เห็นเป็นจุศอยู่ข้างส่วนหัว และลำตัว อาศัยอยู่ในทะเสลีกที่ มีแสงสว่างส่องลงไปไม่ถึง เคย พบหลงเข้ามาในอ่าวไทยตอนล่าง 2 ชนิด คือ มิกโตพัม สไปโนซัม Mycopharma spinosum ทะเลอันดามัน ที่ระดับน้ำลึกกว่า

ปลาสินสมุทรสาย (Emperior angelfish; Pomacanthodes imperatorขณะโตเต็มวัย ซึ่งเป็นสีที่พบไม่บ่อยนักในสัตว์จำพวกปลา
al การเข้าอยู่รวมกันเป็นฝูงของปลาสองชนิดที่มีสีคล้ายคลึงกัน เช่น ปลาแพะ ตัด) ช่วยให้ปลาเหล่านี้ปลอดภัยจากศัตรูมากขึ้น
เกล็ดปลาแบบแกนอยด์เปลือกหนา พบในปลาการ์ในแหล่งน้ำจึดของทวีปอเมริกาเหนือ
เกล็ดปลาแบบแพลคอยด์ พบในปลาฉลามและกระเบน
เกล็ดปลาแบบแกนอยด์เปลือกบาง พบในปลาที่มีอวัยวะคล้ายปอด
เกล็ดปลาแบบไซคอยด์ พบในปลากระดูกแข็งชั้นต่ำ ซึ่งมีโครงครีบเป็นก้านอ่อน เช่น ปรากระโห้

No comments
เกล็ดปลาแบบทีนอยด์ พบในปลากระดูกแข็งชั้นสูง ซึ่งมีโครงครีบเป็นหนามแข็ง เช่น ปลากะพง
Back to content