การสืพพันธุ์ของปลา - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การสืพพันธุ์ของปลา

บทความ > ปลา
พ่อปลาแม่ปลาช่วยกันดูแลไข่ที่กำลังฟักออกตัว
การสืบพันธุ์ของปลา
สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายเมื่อมีการเจริญเติบโตเต็มวัยแล้ว ก็จะมีการสืบพันธุ์ ทั้งมีเพื่อให้สิ่ง  ซึ่งมีชีวิตเหล่านั้นสามารถคงอยู่และรักษาพืชพันธุ์ของมันสืบต่อไป ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมแก่การ ดำรงชีวิตของสิ่งที่มีชีวิตนั้นๆ แต่ในขณะเดียวกัน หากมีสาเหตุที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน เจิร์มพลาซึม (germ plasm ) ของสิ่งที่มีชีวิตนั้น ๆ และการเปลี่ยนไปนั้นยังคงทนในการถ่ายทอดก็ อาจจะทำให้เกิดสิ่งที่มีชีวิตแบบใหม่ขึ้นมา ซึ่งผิดแผกไปจากเดิมได้

สำหรับปลาก็มีระบบการเช่นเดียวกัน ในระยะแรก ๆ ของการเจริญเติบโต อาหารที่ปลากิน เข้าไปจะไปช่วยในการเจริญเติบโตของปลาเป็นส่วนใหญ่ ต่อเมื่อปลาโตเต็มวัยแล้ว ส่วนใหญ่ของอาหารที่กินเข้าไปจะไปช่วยในการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ (gonads) ซึ่งเราเรียกว่า ถุงน้ำเชื่อ  (testes) ในปลาตัวผู้ และรังไข่ (orary) ในปลาตัวเมีย
โดยปกติปลาแต่ละตัวมีอวัยวะเพศแยกจากกัน แต่ก็ยังมีปลาบางจำพวก เช่น ปลาในวงศ์ ปลากะรัง (Serranidae) บางชนิดมีอวัยวะเพศผู้และเพศเมียในตัวเดียวกัน (protandic hermaphrodite) ได้พบว่าในปลาจำพวกนี้ ปลาตัวเดียวกัน ในระยะแรกอาจเป็นเพศผู้ก่อน แต่ในระยะต่อมาจะ  เปลี่ยนเพศ (sex reversal) เป็นเพศเมีย ปลาบางชนิดอาจออกลูกได้โดยไม่มีการผสมระหว่างน้ำเชื้อ และไข่ โดยลักษณะการเช่นนี้เราเรียกว่า พาร์เทโนเณนซิส (parthenogenesis) เราพบลักษณะ  ดังกล่าวในปลาจำพวกกินยุง (Poeciliidae) บางชนิด อย่างไรก็ดี ในการสืบพันธุ์ของปลาดังกล่าว   จำต้องมีตัวผู้เข้าร่วมด้วย แต่อสุจิ (sperm) ของตัวผู้ไม่ได้มีส่วนร่วมในการผสมกับไข่ หากแต่เพียง ไปกระตุ้นไข่ให้เจริญเติบโตเท่านั้น ปลาเหล่านี้จึงออกลูกเป็นตัวเมียทั้งหมด และไม่แสดงลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใดของปลาตัวพ่อเลย

เราไม่สามารถมองเห็นความแตกต่าง ระหว่างอวัยวะเพศผู้และเพศเมียขณะเมื่อปลายังอยู่ในวัยอ่อน แต่เมื่อปลาเจริญเติบโตขึ้นมาระยะหนึ่งแล้วพ่อแม่ปลาช่วยกันเฝ้าดูแลไข่ที่กำลังฟักออกเป็นตัวดังกล่าวได้ ถุงน้ำเชื้อมีลักษณะเป็นแถบสีขาวขุ่น 1 คู่ อยู่ทางส่วนบนของช่องท้องใต้ไตของ แถบนี้จะมีความหนาขึ้นเป็นลำดับเมื่อปลาเกือบจะสืบพันธุ์ได้ และในฤดูสืบพันธุ์อาจมีน้ำหนักมากกว่าร้อยละ 12 ของน้ำหนักตัวปลา ปลาที่มีอวัยวะเพศสมบูรณ์เต็มที่ในขั้นสุกไหล (running ripe) ถ้าเราเอามือบีบเบา ๆ ที่บริเวณท้องปลา แล้วค่อย รูดไปทางด้านหลังของตัวปลา น้ำอสุจิจะเคลื่อนออกมาทันที น้ำอสุจิในปลาทั่วไปมีสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนม เมื่อนำเอาตัวอย่างอสุจิ มาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ จะเห็นว่าตัวอสุจิมีลักษณะคล้ายตัวอสุจิของสัตว์ชั้นสูง และจะไม่ค่อยเคลื่อนไหว แต่ถ้าหากหยดน้ำลงไปในตัวอย่างอสุจิ จะปรากฏว่าตัวอสุจิเริ่มมีชีวิตชีวาทันที และเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอสุจิจะกระปรี้กระเปร่าอยู่ในระยะเวลาอันสั้น คือ ประมาณ 10 - 60 วินาที แล้วแต่ชนิดของปลา หลังจากนั้นจะหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหวอีก

สำหรับรังไข่ ก็มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกับถุงน้ำเชื้อและมักเป็นอวัยวะคู่ เราจะเห็นรังไข่ในระยะแรกของการเจริญเติบโตเป็นเพียงแถบสีขาวขุ่น แต่ถ้าดูด้วยแว่นขยายจะเห็นว่าผิวของรังไข่ไม่เรียบเหมือนถุงน้ำเชื้อ แต่เป็นเม็ดเล็กๆ เมื่อรังไข่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วจะมีขนาด ใหญ่มาก และอาจมีน้ำหนักถึงร้อยละ 70 ของน้ำหนักตัวปลาในปลาบางชนิด ส่วนสีของรังไข่ แทนที่จะเป็นสีขาวขุ่นก็อาจเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้ม ขณะที่รังไข่มีไข่สุกเต็มที่

No comments
Back to content