ปลาหายใจหรือไม่ - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

ปลาหายใจหรือไม่

บทความ > ปลา
ครีบหางของปลากระดูกแข็งแบบต่างๆ ซึ่ง
สามารถใช้ในการศึกษาชนิดปลา อนุกรมวิธาน
หางเว้ารูปวงเดือน (tunate or crescentic)
หางเว้ารูปวงเดือน (tunate or crescentic)
หางตัด(truncate)
หางแหลม (pointed)
หางแฉกลึกรูปส้อม ( forked)
หางเว้าสองตอน(doulabia ei marginate)
หางกลม(rounded)
ส่วนหัวของปลา ตัดเปัดแสดงให้เห็นส่วน ของเหงือก อวัยวะนี้เป็นลักษณะเด่นที่ สำคัญของสัตว์จำพวกปลา ช่วยให้ปลาหาย ใจในน้ำได้ดี
ลักษณะของอวัยวะหายใจพิเศษที่ช่วยให้ปลาน้ำจืดบางชนิดในเขตร้อนหายใจโดย ตรงจากบรรยากาศ เป็นผลให้ปลาเหล่านี้ สามารถอยู่ในแหล่งน้ำที่แห้งขอคหรือหมก  เลือดฝอยกระจายอยู่อย่างหนาแน่น สามารถปิดช่องเหงือกที่มีอยู่เพียงช่อง  เดียวและอุ้มน้ำไว้ภายในได้สนิท ปลาคุก มีลักษณะเป็นพุ่มช่อ ทำงานเหมือน

มีบางคนอาจมีคำถามว่า ปลาอยู่ในน้ำจะหายใจได้อย่างไรในเมื่อเวลาเราดำน้ำ เรายังต้อง กลั้นหายใจ ในข้อนี้อาจชี้แจงได้ว่า ปลาก็เหมือนสัตว์บกทั้งหลาย คือต้องหายใจโดยต้องการ ออกซิเจนและขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกเช่นกัน ปลาโลมาหรือปลาวาฬซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วย (mammals) แต่อาศัยอยู่ในน้ำ จำเป็นต้องโผล่ขึ้นมาจากน้ำเป็นระยะ ๆ เพื่อทำการหายใจ

โดยปกติ ปลาหายใจด้วยเหงือก (gills) ของมัน เหงือกตังอยู่ 2 ข้างของลำตัวปลาที่บริเวณส่วนท้ายของหัว เมื่อเราแง้มหรือเปิดกระทุ้งแก้ม (opercles) ของปลา เราจะเห็นอวัยวะสำหรับใช้ ในการหายใจ มีลักษณะเป็นเส้นกลายขนนกหรือใช้หวีเรียงกันเป็นแผงเป็นระเบียบและมีสีแดงจัด  ที่เหงือกนี้มีเส้นโลหิตฝอยเป็นจำนวนมากมาหล่อเสียงอยู่ ออกซิเจนที่ละลายปนอยู่ในน้ำจะถูกเหงือกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด และเลือดที่มีออกซิเจนนี้จะไหล ผ่านออกจากเหงือกไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะถูก ขับถ่ายออกจากเหงือกบริเวณเดียวกัน หากเราเอาปลขึ้นจากน้ำปลาจะตายในระยะเวลาต่อมา เพราะปลาส่วนใหญ่ไม่สามารถใช้ก๊าซออกซิเจนจากบรรยากาศโดยตรงได้ เนื่องจากมันไม่มีปอดสำหรับหายใจเหมือนสัตว์บกทั้งหลาย ได้มีนักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศทำการทดลองทาง สรีรวิทยา (physiology) โดยน้ำปลาขึ้นมาวางในที่แห้ง ปรากฏว่าปริมาณกรดแลกทิก (lactic acid)ในเลือดและในกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาเพียงไม่กี่นาที แต่เมื่อปล่อยปลากลับลง ไปในน้ำแล้ว ปริมาณกรดแลกติกจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ จนถึงระดับปกติ

การหายใจของปลาเริ่มขึ้นเมื่อมีน้ำเข้าทางปากหรือท่อ เช่น สไปเรเติล (spiracles) ในปลาพวกฉลามและกระเบน น้ำที่มีก๊าซออกซิเจนละลายอยู่ก็จะผ่านเข้าไปตามช่องเหงือก ครั้นเมื่อปลาหุบปากและกระชับกระฟุ้งแก้ม น้ำก็จะถูกขับออกทางช่องแก้มซึ่งเปิตอยู่ทางส่วนท้ายของส่วนหัว น้ำที่ถูกขับออกทางส่วนท้ายนี้ยังเป็นแรงที่ช่วยดันให้ปลาเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกส่วนหนึ่งด้วย  

ยังมีปลาบางจำพวกที่มีอวัยวะพิเศษใช้ช่วยในการหายใจ นอกเหนือจากผิวหนังของปลา  ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับถ่ายของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลาบางจำพวก เช่น ปลาไหลน้ำจืด ใช้ลำไส้ช่วยในการหายใจได้ด้วย ในลูกปลาวัยอ่อน (larvae) ของปลาส่วนใหญ่ที่ยังมี  ถุงไข่แดงอยู่ ปรากฏว่าเส้นเลือดฝอยบนถุงไข่แดง และที่ส่วนต่างๆของครีบสามารถดูดซับเอาก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เช่นกัน ในลูกปลาจำพวกที่มีอวัยวะคล้ายปอด (lung fishes) จะมีเหงือกพิเศษซึ่งพัฒนาดีในระยะแรกของการเจริญเติบโตของปลาเท่านั้น ต่อมาเมื่อลูกปลาดังกล่าว  โตขึ้น เหงือกพิเศษจะค่อย ๆ หดหายไป

ปลาน้ำจืดหลายชนิดในประเทศของเรา สามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่ตื้นเขินแห้งขอดขาดความอุดมสมบูรณ์ และมีก๊าซออกซิเจนละลายอยู่ในน้ำน้อยได้ ปลาเหล่านี้มีอวัยวะพิเศษ แทรกอยู่ตรงส่วนบนของเหงือก ใช้ช่วยหายใจได้โดยตรงจากบรรยากาศ ปลาเหล่านี้ ได้แก่ ปลาช่อน  (Ophiocephalus spp.) ปลาหมอ (anabantids) และปลาดุก เป็นต้น

No comments
Back to content