การเลี้ยงปลาดุกอุย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงปลาดุกอุย

บทความ > การเลี้ยงปลาต่าง
ในปัจจุบันอาจกล่าวได้ว่า ปลาดุกลูกผสมอุย-เทศ หรือ บิ๊ก อุย นั้น เป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่ายมีการเจริญเติบโต รวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี และเป็นที่นิยม บริโภคของประชาชนเนื่องจากมีรสชาติดีมี ราคาถูก และเป็น อาหารโปรตีนที่ย่อยได้ง่าย

ปัจจัยจำเป็นต้องใช้
1 การศึกษาความรู้ในเรื่องของชนิดปลาที่จะเลี้ยง
2. การเลือกทำเลที่เหมาะสมในการสร้างปอเลี้ยงปลา
3 แหล่งน้ำที่จะใช้ในการเลี้ยงปลา
4.แหล่งพันธุ์ปลา
5. แหล่งอาหาร
6.สภาพแวดล้อมอื่นๆ อาทิ เส้นทางคมนาคม ตลาด แรงงาน

การเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้น สามารถเลี้ยงได้ทั้งในปอดินและบ่อชีเมนต์โดยมีขั้นตอนการเลี้ยงดังนี้

1. การปล่อยลูกปลา
ลูกปลาขนาด 2 - 3 เซนติเมตร ควรปล่อย 40 - 100 ตัว ต่อตารางเมตร  ขึ้นอยู่กับชนิดอาหาร ขนาดบ่อ และระบบการเปลี่ยน ถ่ายน้ำ ปกติอัตราการปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัวต่อตารางเมตร ใช้ น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในปอเลี้ยง อัตราความเข้มข้น 30 ส่วนในล้าน (100 ตัน)

2. การให้อาหาร
ในวันที่ปล่อยลูกปลายังไม่ต้องการให้อาหาร ควรเริ่มให้ใน วันรุ่งขึ้น โดยให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้กินวันละ 2 ครั้งหว่าน ให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะบริเวณบ่อ เมื่อโตขึ้นสามารถให้กิน
อาหารเม็ดได้หรือจะให้อาหารเสริมชนิดต่างๆ เช่น ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษอาหารต่างๆ แต่ควรระวังเรื่อง คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงด้วย เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3 - 4 เดือน จะ ไต้น้ำหนักตัวประมาณ 200 - 400 กรัม ผลผลิตที่ได้ 10 - 14 ตัน

3. การถ่ายเทน้ำ
เมื่อเริ่มเลี้ยง ควรให้น้ำในบ่อมีความลึกประมาณ 30 - 40 เชนติเมตร และค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำขึ้นทุกๆ สัปดาห์ จนได้ระดับ ความลึกของน้ำ 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่ การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ของน้ำในบ่อ 3 วันต่อครั้งถ้าน้ำในปอเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ

4. การป้องกันโรค
ซึ่งมักเกิดจากปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดีเพราะ ให้อาหารมากเกินไป อาหารเหลือเน่าเสีย ป้องกันได้โดยหมั่นสังเกต ว่าเมื่อปลาไม่กินอาหารแล้วจะต้องหยุดให้ทันที ปริมาณอาหารที่ให้ ไม่ควรเกิน 4 - 5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา หมายเหตุ

การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์
ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มีสภาพเป็นกลางหรือ เป็นด่างเล็กน้อย และต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์ต้องหมดฤทธิ์ปูน
การเลี้ยงในปอดิน
ต้องมีการเตรียมปอ โดยเริ่มจากการตากปอ เพื่อให้พื้นปอ แห้ง และปรับสภาพพื้นปอให้สะอาด จากนั้นใส่ปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินแล้วจึงใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลา จากนั้นทำการระบายน้ำเข้าบ่อ มีการกรอง ไม่ให้ศัตรู ลูกปลาติดเข้ามากับน้ำ เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควร เป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า ต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและ ในบ่อให้ใกล้เคียงกัน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในบ่อเลี้ยงไว้นาน ประมาณ 20 นาที จึงปล่อยได้

ผลผลิต
เฉลี่ยประมาณ 3,280 กิโลกรัมต่อไร่

ตลาดและผลตอบแทน
ตลาดรับซื้อมีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ราคาที่เกษตรกร ขายได้จะอยู่ที่ราคาประมาณ 20 - 21 บาทต่อกิโลกรัม โดยมี ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ราคาประมาณ 16 บาทต่อกิโลกรัม ในกรณีอาหาร ที่ใช้เลี้ยงเป็นเศษอาหารต่างๆ เช่นไส้ไก่


4 comments
Average Vote: 141.0/5

สถิดาภรณ์
2022-10-25 14:54:15
ปล่อยปลาดุกไป 1000 ตัวในกะชัง 2×3วันแรกไม่เป็นไรวันที่ 2 ปลาตาย 20 กว่าตัววันที่ 3 ตาย 100 กว่าจะก้ไขได้ยังไงเลียงกะชังในบ่อนำจริงคะวันนี้ตายมากไม่รู้ทำไง
สถิดาภรณ์
2022-10-25 14:54:12
ปล่อยปลาดุกไป 1000 ตัวในกะชัง 2×3วันแรกไม่เป็นไรวันที่ 2 ปลาตาย 20 กว่าตัววันที่ 3 ตาย 100 กว่าจะก้ไขได้ยังไงเลียงกะชังในบ่อนำจริงคะวันนี้ตายมากไม่รู้ทำไง
สถิดาภรณ์
2022-10-25 14:53:35
ปล่อยปลาดุกไป 1000 ตัวในกะชัง 2×3วันแรกไม่เป็นไรวันที่ 2 ปลาตาย 20 กว่าตัววันที่ 3 ตาย 100 กว่าจะก้ไขได้ยังไงเลียงกะชังในบ่อนำจริงคะวันนี้ตายมากไม่รู้ทำไง
สถิดาภรณ์
2022-10-25 14:53:33
ปล่อยปลาดุกไป 1000 ตัวในกะชัง 2×3วันแรกไม่เป็นไรวันที่ 2 ปลาตาย 20 กว่าตัววันที่ 3 ตาย 100 กว่าจะก้ไขได้ยังไงเลียงกะชังในบ่อนำจริงคะวันนี้ตายมากไม่รู้ทำไง
Back to content