การเลี้ยงปลอหมอไทย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงปลอหมอไทย

บทความ > การเลี้ยงปลาต่าง
การเลี้ยงปลาหมอไทย
ปลาหมอไทยเป็นปลาที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลายทั่วทุกภาคของประเทศไทย เนื่องจากเป็นปลาที่มีรสชาติดี เป็นที่ต้อง การของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ สามารถปรับตัวเจริญ เติบโตเข้ากับสภาพแวดล้อมที่เป็นน้ำกร่อยได้ และทนทานต่อสภาพ แวดล้อมอื่นๆ ได้มีอวัยวะพิเศษช่วยหายใจ ในปัจจุบัน มีเกษตรกร เลี้ยงปลาหมอไทยกันมากขึ้น แนวโน้มของการเลี้ยงในอนาคตมีลู่ทาง แจ่มใส เป็นปลาที่มีความอดทนสามารถเลี้ยงแบบหนาแน่นทั้งใน แบบปอทั่วไป หรือนากุ้งในพื้นที่น้ำจืด และหากมีการจัดการปอที่ เหมาะสมถูกต้องแล้ว จะมีปัญหาเรื่องโรคระบาดน้อย

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้
การเลือกสถานที่เลี้ยง เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลให้การเลี้ยง ปลาหมอไทยประสบผลสำเร็จ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
1.ลักษณะดิน
ควรเป็นตอนเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย น้ำไม่รั่วซึม สามารถเก็บกักน้ำได้ 4 - 6 เดือน ไม่ควรเลือกพื้นที่ที่เป็นดินทราย หรือดินปนกรวด

2.ลักณะน้ำ
พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น แม่น้ำลำคลอง  ที่มีน้ำตลอดปี หรืออยู่ในเขตชลประทาน หากเป็นพื้นที่ที่อาศัยน้ำฝน เพียงอย่างเดียวควรพิจารณาปริมาณฝนที่ตกในรอบปีด้วย

3. แหล่งพันธุ์ปลา
เพื่อความสะดวกในการลำเลียงปลามาเลี้ยง พื้นที่เลี้ยงไม่ ควรอยู่ห่างไกลจากแหล่งพันธุ์ปลา

4. ตลาด
แม้ว่าหลังจากจับปลาขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงปากบ่อแต่ หากพื้นที่เลี้ยงอยู่ใกล้ตลาด จะทำให้ได้เปรียบในการขนส่งผลผลิต เพื่อการจำหน่าย

การเตรียมบ่อเลี้ยง
เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลต่อผลผลิตที่จะได้รับอัน หมายถึงกำไรหรือขาดทุนของผู้เลี้ยง ขั้นตอนการเตรียมบ่อก่อนปล่อย ปลาลงเลี้ยงสามารถทำได้ดังนี้
1. สูบน้ำออกจากปอให้แห้ง
จะช่วยกำจัดศัตรูปลาที่มีอยู่ในบ่อ หลังจากสูบบ่อแห้งแล้ว หว่านปูนขาวในขณะที่ดินยังเบียก ในอัตรา 60 - 100 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพความเป็นกรด - ด้างของดิน
2. กำจัดวัชพืชและพันธุ์ไม้น้ำที่มีอยู่ในบ่อ
ซึ่งจะเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของศัตรูปลาหมอไทย เช่น ปลาช่อน กบ และงู เป็นต้น และทำให้ปริมาณออกซิเจนที่ละลาย น้ำลดลง เนื่องจากพืชน้ำใช้ออกซิเจนในการหายใจเช่นเดียวกับปลา นอกจากนี้พืชน้ำที่มีอยู่ในบ่อจำนวนมากจะเป็นอุปสรรคในการให้อาหารและการวิดบ่อจับปลา
3. การตากบ่อ
จะทำให้แก๊สพิษในดินบางชนิดสลายตัวไปเมื่อถูกความ ร้อนและแสงแดด ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรค และศัตรูปลาที่ฝังตัวอยู่ ในดิน ใช้เวลาในการตากปอ 2 - 3 สัปดาห์
4. สูบน้ำเข้าบ่อ
ให้ได้ระดับ 60 - 100 เซนติเมตร ทิ้งไว้ 2 - 3 วันก่อน ปล่อยปลาลงเลี้ยง ใช้อวนไนล่อนสีฟ้ากั้นรอบบ่อให้สูงจากพื้น ประมาณ 90 เซนติเมตร เพื่อป้องกันปลาหลบหนีออกจากบ่อ โดยเฉพะในช่วงที่ฝนตก

การปล่อยปลาลงเลี้ยงและอัตราปล่อย
การปล่อยปลาหมอไทยลงเลี้ยงทำได้ 2 วิธีคือ การปล่อยปลานิ้ว ปล่อยปลาขนาด 2 - 3 เซนติเมตร ในอัตราความหนาแน่น
50 ตัวต่อตารางเมตร ควรปล่อยลูกปลาลงปอในช่วงเช้าหรือเย็น ระดับน้ำในบ่อไม่ควรตำกว่า 60 เซนติเมตรก่อนปล่อยปลาออกจาก ถุง ควรปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ เพื่อป้อง กันปลาตายเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างกะทันหัน โดย การแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ 20 นาที แล้วเปิดปากถุงวักน้ำใน บ่อเลี้ยงผสมกับน้ำในถุง แล้วค่อยๆ เทลูกปลาออกจากถุง หลังจาก ปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงประมาณ 1 เดือนจึงเพิ่มน้ำในบ่อให้ได้ระดับ

การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ให้วางไข่ในบ่อ
ในอัตราปลาเพศเมียต่อปลาเพศผู้เท่ากับ 1 ต้อ1 ปริมาณ น้ำหนัก พ่อแม่ปลา 8 - 10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือประมาณ 40 - 75 คู่ต่อไร่เมื่อปลาวางไข่หมดแล้วแล้วจึงนำกระชังพันธ์พ่อแม่ขึ้น ปล่อยให้ไข่พักเป็นตัว หลังจากลูกปลาพักออกเป็นตัวประมาณ 4 วันจึงเริ่ม ให้อาหารสำเร็จรูปชนิดผง หรือให้อาหาร พวกรำละเอียดผสมปลา ป่นอัตรา 1 ต่อ 1 เป็นระยะเวลา 3 - 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้ อาหารเม็ดปลาดุกเล็กพิเศษ หรือปลาสดสับละเอียดและเปลี่ยนเป็น อาหารเม็ดปลาดุกใหญ่ เมื่อปลามีขนาดใหญ่ขึ้น จนได้ขนาดตลาด
Back to content