การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง

บทความ > การเลี้ยงปลาต่าง
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามเป็นอาชีพหนึ่ง ซึ่งทำรายได้ดีให้แก่ ผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงให้ประสบผลสำเร็จนั้น ต้อง อาศัยความรู้ ความเอาใจใส่ พร้อมทั้งได้พันธุ์กุ้งก้ามกรามที่ดีและ แข็งแรง ดังนั้น เกษตรกรควรจะมีทักษะและความรู้ความเข้าใจ เพื่อ  เป็นแนวทางในการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามให้ได้ผลสำเร็จสูง
การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามนั้นจะมาไม่นิยมเลี้ยงในกระชัง เพราะ การเลี้ยงกุ้งจะเกิดของเสียจากาอาหารกุ้งจำนวนมาก จะต้องมีการใช้จุลินทรีย์ช่วยในการบำบัดน้ำเสียดังนั้นจึงไม่มีใครเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในกระชัง

ปัจจัยจำเป็นที่ต้องใช้
คุณภาพดิน
ควรเป็นดินเหนียวหรือดินร่วน จะช่วยในการเก็บกักน้ำได้ดี และคันดินไม่พังทลายง่าย แต่ไม่ควรจะเป็นดินเปรี้ยวจัด เพราะเมื่อ เก็บกักน้ำจะทำให้น้ำเป็นกรด ซึ่งไม่เหมาะสมต่อการเลี้ยงและอาจ ส่งผลให้กุ้งตายหมด

คุณภาพน้ำ
ควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี ของเสียจาก โรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลงของเสียจากโรง เลี้ยงสัตว์และอื่นๆ ควรมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการสูบน้ำใช้ตลอด ทั้งปี โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำส่งเข้าปอเลี้ยงได้โดยไม่ต้องสูบน้ำจะช่วย ลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี
แหล่งพันธ์กุ้ง
พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ในบริเวณที่ไม่มาห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้งก้าม กราม ทำให้สะดวดในการจัดหาพันธุ์  และการลำเลียงขนส่ง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพกุ้งด้วย (ขออนุญาตแทรกคำว่ากระชังในบทความนี้หน่อยนะครับ)

สาธารณูปโภค
เช่น ถนน ไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหารผลผลิต การเตรียมอาหารหรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อ

ตลาด
หากอยู่ใกล้ตลาดจะช่วยให้ได้เปรียบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. การออกแบบบ่อและการก่อสร้าง
ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ คือ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ความสะดวกในการดูแลรักษาและการจัดการรูปทรงควรเป็นสี่เหลี่ยม ผืนผ้า เพื่อสะดวกในการจัดการและการจับผลผลิต บ่อกว้างประมาณ 25 เมตร แต่ไม่ควรเกิน 50 เมตร

2. การเตรียมบ่อเลี้ยง(เลี้ยงในกระชังไม่ได้)
ควรสูบน้ำออกจากปอให้แห้งเพื่อกำจัดศัตรูกุ้งที่เหลือ หว่านปูนขาวทันทีในขณะดินเปียกในอัตรา60 - 100 กิโลกรัมต่อไร่ ศัตรูกุ้ง ได้แก่ ปลาชนิดต่างๆ กบ เขียด ปู นก ชนิดต่างๆ การกำจัด อาจใช้ปูนขาว โล่ตื้น กากชา หรือสารเคมีชนิดอื่นๆ กำจัด พันธุ์ไม้น้ำและวัชพืชซึ่งเป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรูกุ้งและส่วนที่ตาย จะเน่าเสียอันตรายต่อกุ้งที่เลี้ยงได้ วัชพืชต่างๆ จะเป็นอุปสรรคต่อ การจับกุ้ง ทำให้การเลี้ยงได้ผลผลิต ไม่แน่นอนการตากปอจะช่วย ให้แก๊สพิษบางตัวที่ผังกันบ่อ ระเหยและถูกทำลายโดยแสงแดดและ ความร้อน ทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่อยู่บริเวณกันบ่อเป็นการทำให้ หน้าดินในปอเลี้ยงกุ้งมีคุณภาพดีขึ้น(กระชัง)

3. การปล่อยพันธุ์กุ้งลงเลี้ยง
เวลาที่ปล่อยพันธุ์กุ้งเลี้ยงดีที่สุดคือเวลาเช้าหรือเวลาเย็น นำถุงพลาสติกที่บรรจุลูกกุ้งแช่ในปอประมาณ 20 นาทีเพื่อปรับ อุณหภูมิน้ำ ระดับน้ำในปอไม่ควรต่ำกว่า 60 เซนติเมตรพันธุ์กุ้งที่ นำมาปล่อยควรปรับให้อยู่ในสภาพน้ำจืดแล้วไม่ต่ำกว่า 2 - 3 มี ลักษณะการเคลื่อนไหวปราดเปรียวอัตราการปล่อยกุ้งลงเลี้ยงที่ เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10 ตัวต่อตารางเมตร

4. อาหารและการให้อาหาร
อาหารของกุ้งควรเป็นอาหารจมชนิดเม็ดหรือแท่งสั้นๆ เพื่อ สะดวกในการกัดกินและคงสภาพน้ำได้นานประมาณ 6 - 12 ชั่วโมง โดยไม่ละลายน้ำ อาหารที่ใหม่จะมีกลิ่นหอมช่วยให้กุ้งกินอาหารได้ดี การเพิ่มหรือลดอาหารที่ให้ต่อวันทำได้โดยการตรวจสอบการกินอาหาร ของกุ้งในแต่ละวันเสียก่อนว่าเหลือหรือไม่ วันใดฝนตกหรือมีอากาศ เปลี่ยนแปลงมากๆ หรือมีหมอกลง ไม่สมควรให้อาหารหรืออาจจะ ให้ในปริมาณเพียงเล็กน้อย

ผลผลิต
ระยะเวลาการเลียงขึ้นอยู่กับขนาดของกุ้งที่ตลาดต้องการ - โดยทั่วไปหลังจากเลี้ยงแล้ว 6 เดือน จะเริ่มทำการคัดกุ้งขนดใหญ่ - ที่ออกขายหลังจากนั้นในช่วง 1.5 - 2 เดือนจะทำการจับ ถ้ามีกุ้ง น้อยควรวิดบ่อจับกุ้งขายให้หมด ผลผลิตกุ้งอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 200 กก. ต่อไร่ต่อปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอัตราการรอดตายของกุ้ง ศัตรูกุ้ง และการดูแลเอาใจใส่ทั้งถึง ตัวผู้ที่มีขายาวและก้ามยาวใหญ่ จะมีราคาถูกกว่ากุ้งตัวผู้ลักษณะธรรมดา

การตลาดและผลตอบแทน
ถ้าขายส่งคละทั้งตัวผู้และตัวเมียราคา 80 - 100 บาทต่อกิโลกรัม หากคัดขายเฉพาะกุ้งตัวผู้ ราคา 100 - 120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วน กุ้งตัวเมียราคา 55 - 70 บาท ต่อกิโลกรัม
แม้ว่าว่าจะไม่มีการเลี้ยงกุ้งในกระชัง แต่ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการโฆษณากระชังเท่านั้น ขอบคุณที่คลิกมาอ่านเรื่องกระชังของเรา

Back to content