การใส่ปุ๋ย - กระชัง ปลา-กบ

เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย ระชังเลี้ยงปลา-ก
เราคือ ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย กระชังปลา-กบ
เราคื ผู้ผลิต และ จัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรู
กระชังบกสำหรับเลี้ยงกบ บ่อปลาสำเร็จรูป กระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

เราคือ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย  กระชังเลี้ยงปลาสำเร็จรูปกระชังบกสำหรับเลี้ยงกบบ่อปลาสำเร็จรูปกระบะเลี้ยงจิ้งหรีด

Go to content

การใส่ปุ๋ย

บทความ > ปลาที่เลี้ยงง่าย > ปลานิล > การเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน
การใส่ปุ๋ย
การใส่ปุ๋ยในบ่อเลี้ยงปลาก็เพื่อเป็นการเพิ่มธาตุอาหาร และเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลา การเลี้ยงปลานิลในเชิงการค้าควรใช้ประโยชน์จากอาหารธรรมชาติให้มากที่สุด เพราะจะช่วยลดอาหารสมทบที่ใช้เลี้ยงลงได้มาก

อัตราการใส่ปุ๋ยคอกในระยะแรกควรใส่ประมาณ 250-300 กิโลกรัมต่อไร่ต่อเดือน ส่วนในระยะหลังควรลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งหรือสังเกตจากสีน้ำในบ่อ โดยใส่ในปริมาณครั้งละน้อยๆ แต่ควรจะใส่บ่อยครั้ง อาจจะใส่สัปดาห์ละครั้ง

ปุ๋ยคอกที่ใส่จะต้องตากให้แห้งเสียก่อน ใส่โดยใช้วิธีหว่านลงไปในบ่อให้ละลายน้ำทั่วบ่อ ซึ่งการใส่ปุ๋ยดังกล่าวก็เพื่อให้การสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเป็นไปอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดระยะการเลี้ยง


การให้อาหาร
อาหารปลานิลได้มาจาก 2 แหล่งด้วยกันคือ อาหารธรรมชาติและอาหารสมทบ อาหารธรรมชาติ เช่น แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนแมลง ไส้เดือน หนอนแดง ไรน้ำ ตัวอ่อน กุ้ง สาหร่าย ตะไคร่น้ำ จอก แหน ผักบุ้ง เป็นต้น

ส่วนอาหารสมทบคือ อาหารที่ให้เพิ่มเติมแก่ปลา เพื่อต้องการเพิ่มผลผลิตปลาให้มากขึ้น เช่น รำ ปลายข้าว กากมะพร้าว มันสำปะหลังหันต้มให้สุก กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง อาหารสำเร็จรูป เป็นต้น

การให้อาหารในแต่ละครั้งควรกะให้ในปริมาณที่เพียงพอแก่ ความต้องการของปลาเท่านั้น ซึ่งส่วนมากปริมาณอาหารที่ให้ไม่ควรเกิน 4 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง หรือใช้วิธีสังเกตจากปลาที่ขึ้นมากินอาหาร สำหรับวิธีการให้อาหารปลานิลอาจใช้วิธีหว่านด้วยมือหรือใช้เครื่องให้อาหารโดยให้ปลากินอาหารเองทุกมือตามที่ต้องการ โดยการกระแทกหรือชนแกนของเครื่องให้อาหารเพื่อให้อาหารตกสู่บ่อ

สูตรอาหารปลานิล

ส่วนผสม
น้ำหนัก (เปอร์เซ็นต์)
ปลาป่นอัดน้ำมัน
12
กากถั่วลิสงป่น
6
รำละเอียด
40
ปลายข้าวบดหรือมันเส้นบด
41
วิตามิน+เกลือแร่
1
รวม
100
การถ่ายเทน้ำ
การถ่ายเทน้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเลี้ยงปลานิลในบ่อดิน เพราะการถ่ายเทน้ำเป็นการปรับคุณสมบัติของน้ำ ทำให้ปลาที่เลี้ยงในบ่อลดอาการเครียดและมีการเจริญเติบโตดีขึ้น ไม่มีโรคและพยาธิ

การถ่ายเทน้ำบ่อยครั้งจะทำให้ปลาโตเร็วขึ้น เพราะการที่ปลา ได้น้ำใหม่บ่อยๆจะทำให้ปลามีความกระปรี้กระเปร่าและกินอาหารได้มากขึ้น ส่วนจำนวนครั้งที่ถ่ายและปริมาณการถ่ายน้ำออกจากบ่อนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ให้และจากการพิจารณาสีของน้ำควบคู่กัน

การจับปลานิล
โดยทั่วไปแล้วปลานิลที่ปล่อยลงเลี้ยงในบ่อรุ่นเดียวกันจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 1 ปีจึงจะจับจำหน่าย ปลานิลที่ได้ จะมีน้ำหนักประมาณ 2-3 ตัวต่อกิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดมีความต้องการการจับปลานิลสามารถทำได้ 2 วิธีคือ

1. การจับแบบไม่วิดบ่อแห้ง โดยสูบน้ำออกจากบ่อประมาณครึ่งหนึ่งแล้วทำการตีอวนจับปลา ซึ่งกระทำโดยผู้จับยืนเรียงแถวหน้ากระดานเว้นระยะห่างกันประมาณ 4.5 เมตรจากขอบบ่อด้านหนึ่ง แล้วลากอวนไปยังขอบบ่ออีกด้านหนึ่งตามความยาวของบ่อ แล้วยกอวนขึ้นจากนั้นนำสวิงตักปลาใส่เข่งเพื่อชั่งขาย ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนได้ปริมาณ ตามที่ต้องการส่วนปลาเล็กก็ยังปล่อยเลี้ยงในบ่อต่อไป

2. การจับแบบวิดบ่อแห้ง โดยทำการสูบน้ำออกจากบ่อให้เหลือน้อย แล้วตีอวนจับปลาเช่นเดียวกับการจับแบบไม่วิดบ่อแห้ง จนกระทั่งปลาเหลือจำนวนน้อยจึงสูบน้ำออกจากบ่ออีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับตีน้ำไล่ปลาให้ไปรวมกันอยู่ในร่องบ่อ เมื่อน้ำในบ่อแห้งปลาจะมารวมกันอยู่ที่ร่องบ่อ แล้วจึงจับปลาขึ้นมาจำหน่าย

No comments
Back to content