การเลี้ยงปลาในกระชังผสมกับเป็ด
บทความ > การเลี้ยงปลาในกระชังผสมสัตว์อื่น

การเลี้ยงเป็ดผสมเลี้ยงปลาในกระชัง
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเลี้ยงเป็ดควบคู่กับการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้ แก่มูลเป็ดเป็นปุ๋ยช่วยเพิ่มอาหารธรรมชาติให้กับปลา อาหารที่ใช้เลี้ยงบางส่วนเมื่อตกหล่นลงไปในกระชังปลาจะกินเป็นอาหารโดยตรง หรือมี เศษเหลือบางส่วนจะกลายเป็นปุ๋ย นอกจากนี้ เป็ดช่วยเพิ่มออกซิเจน ในน้ำไม่ว่าจะเป็นการว่ายน้ำ การเล่นกันของเป็ดตามผิวน้ำในกระชัง นอกจากนี้ยังสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เต็มที่ดินรอบๆ บ่อใช้ปลูกผัก ส่วนน้ำในบ่อนอกจากใช้เลี้ยงปลาแล้วยังปลูกพืชอื่นๆ ได้อีก เป็นการ เพิ่มผลผลิตและเพิ่มรายได้ สามารถใช้บริโภคภายในครอบครัวถ้า เหลือก็สามารถนำออกขาย ลดอัตราเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ดีกว่าการ เลี้ยงปลา เลียงสัตว์ หรือปลูกพืชเพียงอย่างเดียวและเป็นการลดต้นทุนเพราะกิจกรรมแต่ละอย่างต้องพึ่งพากันก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนในการจำหน่ายผลผลิตจากฟาร์มตลอดปี
พันธุ์ปลาที่เลียงร่วมกันกับการเลี้ยงเป็ด
ควรเป็นพันธุ์ที่กินอาหารไม่เลือกหรือกินแพลงก์ตอน เช่น ปลานิล ปลานวลจันทน์เทศ และปลาช่อน โดยใช้ปลานิลเป็นหลัก ส่วนลูกปลาควรมีขนาด 5 – 7 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดที่โตพอจะ หลบหนีจากการถูกกินเป็นอาหารของเป็ดได้ อัตราส่วนที่เหมาะสมในกระชัง คือ จำนวนปลานิลขนาด 5 เซนติเมตร 50 ตัวต่อตารงเมตร ในส่วนของเล้าเป็ดควรมีประตูเพื่อจะขังเป็ดไว้ในเล้าได้เวลากลางคืน พื้นเล้าเป็ด ควรจะตีไม้ให้มีระยะห่างกันพอสมควร หรือห่างกันประมาณ 1 เซนติเมตร เพื่อให้มูลเบ็ดตกลงสู่กระชัง ควรมีชานหรือสะพานทอดลงสู่น้ำ เพื่อให้เป็ดขึ้นจากเล้าได้สะดวก ลูกเป็ดที่ชื่อมาเลี้ยง จะเป็นเป็ดที่มีอายุประมาณ 1 วัน ควร ควรให้อาหารที่มีสุภาพสูง เลี้ยงลูกเป็ดในระยะนี้ จนกระทั้งลูกเป็ด ครบ 1 เดือน จึงให้อาหารสำหรับเป็ดไข่ ซึ่งมีส่วนประกอบของ ปลายข้าว 1 กระสอบ (100 กิโลกรัม) รำละเอียด 1 กระสอบ (60 กิโลกรัม) และหัวอาหาร 1 ถุงครึ่ง (45 กิโลกรัม)
ปลาที่เลี้ยงจะได้รับประโยชน์จากเป็ดก็คือ ปลาสามารถกินของเสีย จากเป็ดเป็นอาหารได้ และมูลเป็ดที่ปลากินไม่หมด จะเป็นปุ๋ยให้กับ พวกจอก แหน หรือวัชพืช เมื่อพืชเหล่านั้นโตขึ้นมาก็จะเป็นอาหาร ให้แก่ปลาและเป็ดต่อไป
พันธุ์เป็ดที่นำมาเลี้ยงกับปลาในกระชัง
ควรเป็นเป็ดพันธุ์ไข่จะดีกว่าเป็ดพันธุ์ เนื้อ พันธุ์ที่ดีที่สุดคือ พันธุ์กากีแคมเบล ซึ่งให้ไข่จำนวนมากกว่าพันธุ์ การที่ควรจะเลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข้ผสมผสานกับการเลี้ยงปลาในกระชังนั้นมี ข้อดีด้วยกันหลายประการ คือ สมาชิกในครอบครัวได้รับประทาน อาหารโปรตีนอย่างสม่ำเสมอไข่เป็ดที่เหลือจากการบริโภคสามารถนำ ไปจำหน่ายได้ง่ายกว่าจำนวนเป็ดทั้งตัว และถ้าเลี้ยงเป็ดไข่จะใช้เวลา ประมาณ 18 เดือนเท่านั้น ส่วนการเลี้ยงเป็ดเนื้อจะใช้เวลา 2 – 3 เดือนแต่อาจมีความยุ่งยากมากกว่า
อัตราส่วนจำนวนเป็ดที่เลี้ยงกับขนาดของบ่อปลาและกระชัง
จำนวนเป็ดสูงสุดที่ควรใช้เลี้ยงในบ่อคือ 240 ตัวต่อเนื้อที่ กระชังขนาด 1 ไร่ สำหรับกระชังขนาด 200 ตารางเมตร ควรปล่อยเป็น อัตรา 30 ตัวต่อกระชัง (ถ้าต้องการเพียงให้มีผลผลิตใช้เพียงพอแก่การ ใช้บริโภคของสมาชิกในครัวเรือนทุกๆ วัน จำนวนเป็ดจะลดลงเหลือ เพียง 10 ตัว สำหรับกระชังขนาด 200 ตารางเมตร
การสร้างเล้าเป็ด
ควรหาวัสดุพื้นบ้านที่หาได้ง่าย เช่น ไม้ไผ่และแฝกหรือจาก สำหรับมุงหลังคา ขนาดของเล้าเป็ดขึ้นอยู่กับจำนวนเป็ดที่เลี้ยง แต่ ควรมีเนื้อที่ของเล้า 1ตรารางเมตรต่อเป็ด 5 ตัว ถ้าเลี้ยงเป็ดจำนวน 30 ตัว เล้าเป็ดควรมีเนื้อที่ประมาณ 6 ตารางเมตร ส่วนความสูง ของเล้าเป็ดควรสูงพอที่จะเข้าไปเก็บไข้และทำความสะอาดได้สะดวก
สามารถกำบังฝนและแดดได้ดีและถ่ายเทอากาศได้ดี